ส่องพฤติกรรมนักอ่านออนไลน์ที่คนทำคอนเทนต์ต้องรู้! “Content is king.”
ส่องพฤติกรรมนักอ่านออนไลน์ที่คนทำคอนเทนต์ต้องรู้! “Content is king.”
ในยุคนี้ที่โลกออนไลน์มีคอนเทนต์หลายอย่างให้เลือกเสพกันเต็มไปหมด ทำให้พฤติกรรมของนักอ่านเปลี่ยนไป จากเดิมที่มีคนอ่านบทความยาวๆ เดี๋ยวนี้เริ่มกลายเป็น “ยาวไปไม่อ่าน” ยกเว้นว่าเนื้อหาจะดีจริงๆ แต่บางทีบทความที่มีเนื้อหายาวๆ และเรียบเรียงได้ดี ก็มีผู้อ่านน้อยคนมากที่จะอ่านทุกตัวอักษร ส่วนใหญ่ก็อ่านแบบข้ามๆ (Skimming) กันหมด วันนี้ เราจะมาส่องพฤติกรรมนักอ่านออนไลน์ในปัจจุบันกันว่า เดี๋ยวนี้เขาอ่านกันยังไง แล้วคนที่ทำ Content หรือเขียนอะไรสักอย่าง ต้องปรับตัวยังไงบ้าง?
1. การสนใจของผู้อ่านออนไลน์
การสนใจของผู้อ่านออนไลน์เริ่มหายไปเรื่อยๆ โดย 1.55% ของจำนวน Page View ทั้งหมด ได้รับความสนใจเพียงเวลาน้อยกว่า 15 วินาที
2. คอนเทนต์ขายของที่คนไม่อ่าน
คอนเทนต์กว่า 60-70% เป็นคอนเทนต์ขายของที่คนไม่อ่าน
3. การอ่านเนื้อหาบนเว็บ
ในปี 2008 มีผลวิจัยระบุว่า ผู้เข้าชมเว็บจะอ่านเนื้อหาเพียง 20% ของเนื้อหาทั้งหมดในหน้านั้นๆ
4. การดึงดูดผ่านหัวข้อ
หัวข้อ หรือวลีที่มีจำนวนคำแค่ 2-3 คำ จะถูกมองข้ามทันทีกว่า 75% ขณะที่หัวข้อที่มีจำนวนคำประมาณ 8 คำ จะได้รับความสนใจเกือบตลอด
5. คำในหัวข้อ
ปัจจัยเรื่องคำในหัวข้อที่ส่งผลต่อการดึงดูดคน คือ Content Word (85%) และ Functional Word (35%)
6. รูปแบบการอ่าน
รูปแบบการอ่านบนโลกออนไลน์ในปัจจุบันไม่ใช่จาก “ซ้ายไปขวา” ทั้งหมด แต่เป็นการอ่านในรูปตัวอักษร F ซึ่งบ่งบอกถึงการสำรวจเฉพาะหัวข้อที่สนใจ และอ่านเนื้อหาคร่าวๆ ไม่ได้อ่านทั้งหมด
7. การกระจายความสนใจในหน้าเว็บ
พื้นที่ด้านครึ่งซ้ายของหน้าเว็บ ได้รับความสนใจจากผู้อ่านมากกว่าครึ่งด้านขวา ในสัดส่วน 70% vs 30%
8. การสำรวจ Page Fold แรก
ผู้อ่านใช้เวลากว่า 80% ในการสำรวจคอนเทนต์ที่ปรากฏบน Page Fold แรก (ส่วนแรกของเว็บที่ปรากฏขึ้นมา) ขณะที่เนื้อหาที่ต้องเลื่อนลงมาดูนั้นได้รับความสนใจน้อยกว่ามาก
9. เวลาอ่านอีเมลแจ้งข่าวสาร
เวลาเฉลี่ยในการอ่านอีเมลแจ้งข่าวสาร หรือโปรโมชั่นอยู่ที่ราวๆ 51 วินาที
10. การแชร์บนโซเชียล
ผลสำรวจจากนิตยสาร TIME ในปี 2014 เผยให้เห็นว่า คนที่มี Activity บนโซเชียลเป็นประจำ และชอบแชร์สิ่งต่างๆ มักไม่ค่อยอ่านสิ่งที่ตัวเองแชร์เท่าไหร่ ซึ่งตรงกันข้ามกับผู้ที่มี Activity บนโซเชียลน้อยๆ ที่ทุกลิงก์ที่แชร์มาคือตนเองได้อ่านหมดแล้ว
11. การอ่าน Content ออนไลน์ vs. หนังสือ
คนยุคนี้อ่าน Content บนโลกออนไลน์มากกว่าการอ่านหนังสือเป็นเล่มๆ ประมาณ 20-30%
12. การอ่านบทความ
ผู้อ่านแค่ 10-20% เท่านั้น ที่จะอ่านตั้งแต่หัวข้อจนถึงตอนจบของบทความ
13. ผู้อ่านที่อ่านนานๆ
ผู้อ่านที่อ่านบทความนานกว่า 3 นาที จะกลับมายังเว็บไซต์ดังกล่าวบ่อยกว่าผู้ที่อ่านเพียง 1 นาที ถึง 2 เท่า
การปรับตัวในการทำคอนเทนต์
1. วางแผนให้ดี
วางแผนให้ดีว่าคอนเทนต์ชนิดใดควรอยู่ตรงไหนบนหน้าเว็บ เพื่อกระตุ้นผู้อ่านให้เกิดความอยากดู อยากอ่าน หรือสนใจจะเข้าไปในส่วนอื่นต่อ
2. ทำให้คอนเทนต์มองเห็นได้ง่าย
ทำให้คอนเทนต์ของตนเองมองเห็นได้ง่าย และชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้อ่าน “เข้ามาแล้วเจอเลย” ไม่ใช่เข้ามาแล้วต้องกดเข้าไปที่อื่นต่อ
3. สร้างคอนเทนต์มีคุณค่า
สร้างคอนเทนต์ที่มีคุณค่าสุดๆ ได้ ด้วยการเขียนประเด็นที่เหมาะกับผู้อ่านแบบเฉพาะกลุ่ม ยิ่งเฉพาะมากยิ่งดี หลีกเลี่ยงคอนเทนต์แบบ General Mass เพราะใครๆ ก็ทำได้
4. ความเป็นมืออาชีพในการเขียน
ความเป็นมืออาชีพในการเขียน ทั้งการเรียบเรียงประโยค และสะกดคำ (นะคะ/นะค่ะ ใช้กันให้ถูกด้วยนะคะ)
5. ชั่งน้ำหนักคุณภาพ vs. ปริมาณ
ชั่งน้ำหนักให้ดีระหว่าง คุณภาพ vs. ปริมาณ เพราะสองอย่างนี้มีเป้าหมายในการทำที่แตกต่างกัน ถ้าเน้นการทำคอนเทนต์เยอะๆ แต่ไม่มีคุณค่า ก็ต้องปรับเปลี่ยนประเด็นมาทำแบบน้อยๆ แต่โดนทุกอันบ้าง แม้พฤติกรรมของผู้อ่านจะเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก ทำให้ผู้ผลิตคอนเทนต์ต่างๆ ต้องปรับตัวตามตลอดเวลา แต่สุดท้ายแล้วถ้าคอนเทนต์ไหนดี และโดนจริงๆ จะเขียนยาวหรือสั้น ยังไงก็มีคนอ่านแน่นอน ดังนั้น ควรใช้เวลากับการตกผลึกไอเดีย หรือประเด็นในการทำคอนเทนต์ให้มากๆ เพื่อสร้าง Value ให้กับชิ้นงาน และเว็บไซต์ของเรามากที่สุด
สรุป
พฤติกรรมของนักอ่านออนไลน์กำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในยุคนี้ คนทำคอนเทนต์ต้องปรับตัวและการสร้างเนื้อหาให้เข้ากับพฤติกรรมนี้ เพื่อให้คอนเทนต์ของเรามีโอกาสได้รับความสนใจและอ่านจริงๆ ให้ความคิดเห็นและแชร์ต่อในโลกออนไลน์ที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน