Google Analytics 4 อัพเดตเวอร์ชั่นใหม่: สิ่งที่คุณต้องรู้

Google Analytics 4 อัพเดตเวอร์ชั่นใหม่: สิ่งที่คุณต้องรู้

Google Analytics เครื่องมือที่ช่วยให้เราวัดผลลัพธ์ของการทำเว็บไซต์ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการติดตามจำนวนผู้ชมเว็บไซต์ในแต่ละวัน คนที่เข้ามาเว็บไซต์เป็นใคร และเข้ามาทำอะไรบ้าง ช่วยให้เรารู้จักกับกลุ่มคนที่สนใจ หรือลูกค้ามากยิ่งขึ้น นอกจากนี้เราสามารถนำข้อมูลที่ได้จาก Dashboard ต่างๆ มาวิเคราะห์เพื่อวางแผนการทำการตลาด สร้างแคมเปญให้ตรงกับคนที่สนใจ ยิ่งโฆษณาได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย และวางแผนเพื่อให้เราสื่อสารได้มีประสิทธิภาพทุกช่องทาง

Google Analytics 4 คือ อะไร?

สำหรับที่มีเว็บไซต์ ก่อนหน้านี้อาจจะติด Google Analytics – Universal Analytics (เวอร์ชั่นเก่า) กันมาอยู่แล้ว หากคนที่พึ่งทำเว็บไซต์มาใหม่ๆ นี้ Google จะให้เราใช้เป็น GA4 ที่เป็นเวอร์ชั่นใหม่ แต่เราสามารถเลือกกลับไปใช้เวอร์ชั่นเก่าได้เช่นกัน

เหตุผลที่ Google พัฒนา GA4 ขึ้นมานั้นเนื่องจากกว่า ก่อนหน้านี้เราจะติด GA เพื่อวัดผลเว็บไซต์ และสำหรับ Application แยกกัน รวมถึงการทำ Event / Conversion Tracking ต่างๆ ก็จะอยู่ในตัว Google Tag Manager ซึ่งฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆ อยู่แยกกันทั้งหมด

Google จึงพัฒนา GA4 ขึ้นมา แล้วนำฟังก์ชั่นที่ว่ามาทั้งหมดใส่เอาไว้ในที่เดียวนั่นเอง ซึ่งเวอร์ชั่นใหม่นี้ได้มีการปรับเมนู รายงานต่างๆ เป็นรูปแบบใหม่ทำให้มุมมองในการดูรายงานต่างๆ เปลี่ยนไปจากเดิม จนอาจทำให้หลายคนรู้สึกว่ามันงง ใช้งานยากกว่าตัวเก่า แต่ถ้าหากคุณลองเปิดใจ และใช้งานมันจริงๆ คุณจะต้องติดใจ Google Analytics 4 อย่างแน่นอน

มีอะไรใหม่ใน Google Analytics 4

1. Report snapshot

หน้าแรกที่ทุกคนจะพบเมื่อ Login เข้าใช้งาน เป็นหน้าที่บอกภาพรวมของรายงานต่างๆ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น จำนวนผู้ใช้งานในเว็บไซต์ บอกว่าผู้ใช้งานเข้ามาจากช่องทางไหนมากที่สุด หน้าไหนที่คนเข้าไปใช้งานมากที่สุด และถ้าเราต้องการดูข้อมูลที่ลึกมากกว่านี้ ก็สามารถคลิกปุ่ม View ที่ล่างการ์ดรายงานได้เลยง่ายๆ นอกจากนี้ยังมีรายงาน Insight ที่ Google นั้นได้สรุปมาให้เราเข้าใจง่ายๆ ว่าในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ผลลัพธ์ของเว็บไซต์เป็นอย่างไรบ้าง การตลาดช่องทางที่เติบโต และได้ผลลัพธ์มากที่สุดในตอนนี้

2. Realtime

รายงานที่แสดงจำนวนและพฤติกรรมต่างๆ ของผู้ใช้งานเว็บไซต์ในขณะนั้น เราสามารถรู้ได้ว่า ณ เวลานี้มีผู้ใช้งานเว็บไซต์อยู่กราคาน เข้าใช้งานจากตำแหน่ง/สถานที่ไหน เข้ามาจากช่องทางไหน หน้าที่คนเข้าไปใช้งานมากที่สุด

GA4 แบ่งรายงานออกเป็นสองส่วนหลัก 

-Life Cycle: เป็นส่วนที่บอกพฤติกรรมการใช้งานต่างๆ ของผู้ใช้งานเว็บไซต์

-User: บอกข้อมูลพื้นฐานของคนที่เข้ามาใช้งานเว็บไซต์

3. Acquisition

เป็นรายงานที่จะช่วยให้เรารู้ว่า User เข้ามาใช้งานเว็บไซต์ของเราจากช่องทางไหนบ้าง แต่ละช่องทางมีคนเข้ามาใช้งานมากเท่าไหร่ ซึ่งจะช่วยให้เรารู้ว่าผลลัพธ์ที่เราทำการตลาดในแต่ละช่องทางนั้นเติบโตขึ้นมากแค่ไหน และทางไหนที่ตอบโจทย์ธุรกิจเรามากที่สุด

4. Engagement

เป็นรายงานที่บอกภาพรวมเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของ User เช่น หน้าเพจไหนมีคนเข้าใช้งานมากที่สุด ระยะเวลาที่ User เข้ามาใช้งานเว็บไซต์ การคลิก Event และ Conversion ต่างๆ ที่เรามีการ Track เอาไว้

5. Monetization

รายงานที่บอกเกี่ยวรายได้ที่เกิดขึ้นในเว็บไซต์เช่น มีคนสั่งซื้อสินค้าเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ รายได้แต่ละวัน/เดือนรวมเท่าไหร่ เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีระบบ E-Commerce และบริการต่างๆ ที่มีการชำระเงินบนหน้าเว็บไซต์

6. Retention

เป็นรายงานที่บอกเกี่ยวกับ Returning Visitor คนที่เคยใช้งานเว็บไซต์ หรือลูกค้าเก่า มีการกลับมาใช้งานเว็บไซต์ของเราอีกครั้งมากน้อยแค่ไหน หากเรามี Returning Visitor ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องก็หมายความว่าเราสามารถรักษาฐานลูกค้าเก่าไว้ได้มั่นคง แต่ถ้าหากจำนวนลดลงก็อาจหมายถึงว่า คุณภาพของบริการ หรือความใส่ใจลูกค้าเก่าของเราลดลงได้เช่นกัน

7. Demographic

รายงานที่ให้เรารู้ข้อมูลพื้นฐานของผู้ใช้เว็บไซต์เช่น เพศ ชาย,หญิง อายุเท่าไหร่ เข้าใช้งานเว็บไซต์จากที่ไหนประเทศ หรือจากหวัดอะไร ช่วยให้เรารู้จักลูกค้า หรือคนที่สนใจธุรกิจของเรามากยิ่งขึ้น

8. Tech

ให้เรารู้ว่าเทคโนโลยี หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ User ใช้เข้าเว็บไซต์คืออะไร เป็น PC หรือ Mobile Browser เป็น Google Chrome หรือ Firefox ซึ่งข้อมูลส่วนนี้มักถูกใช้ตอนที่กำหนดเกลุ่มเป้าหมายตอนยิงโฆษณาเพียงเท่านั้น

สรุป

Google Analytics 4 (GA4) เป็นเวอร์ชั่นใหม่ที่มีการพัฒนาออกมาให้เราใช้งานกันล่าสุด และมาพร้อมกับรายงานและความสามารถที่ครอบคลุมมากขึ้น แม้ว่าการใช้งานเวอร์ชั่นใหม่นี้อาจจะดูที่ยากขึ้นในบางส่วน แต่หากเราเปิดใจและใช้งานมันจริงๆ เราจะพบว่า GA4 เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการวัดผลและวิเคราะห์การทำเว็บไซต์ของเรา และช่วยให้เราเข้าใจกับกลุ่มคนที่สนใจหรือลูกค้ามากยิ่งขึ้น

หากคุณยังไม่ได้อัพเดตเป็น Google Analytics 4 แนะนำให้ลองใช้งานและค้นพบความสามารถของเวอร์ชั่นใหม่นี้เอง เพราะมันอาจจะช่วยให้ธุรกิจหรือเว็บไซต์ของคุณเติบโตมากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด