8 สัญญาณอันตราย “โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง SLE ลูปัส หรือโรคพุ่มพวง”

0
398

8 สัญญาณอันตราย “โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง SLE ลูปัส หรือโรคพุ่มพวง”

โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง เป็นอย่างไร?

โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง SLE ลูปัส หรือโรคพุ่มพวง เป็นโรคที่เกิดจากภาวะที่ร่างกายสร้างสารภูมิคุ้มกันต้านทานผิดปกติ โดยเข้าไปต่อต้านเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เป็นผลทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในบริเวณนั้น

อาการของโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง

สัญญาณอันตรายที่เป็นอาการเริ่มต้นของโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง มีหลากหลายอาการขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดความผิดปกติจนมีอาการอักเสบในระยะแรก ไปจนถึงระยะเรื้อรังที่อาจเริ่มเกี่ยวพันกับอวัยวะส่วนอื่นๆ

1.อาการผิดปกติทั่วไป

  • เช่น ปวดศีรษะ
  • อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • ผอมลง

2.อาการทางผิวหนัง

  • มีผื่นแดง
  • ขึ้นบริเวณใบหน้า ช่วงตรงกลาง และโหนกแก้มทั้งสองข้าง
  • รูปร่างคล้ายผีเสื้อ
  • อาจมีอาการผมร่วงด้วย

3.อาการปวดข้อ

  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • อาจไม่มีอาการบวมแดง
  • ปวดได้ทุกส่วนที่มีข้อ เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อมือ ข้อนิ้ว

4.อาการทางปอด

  • เจ็บหน้าอก
  • ไอ
  • ปอดเยื่อหุ้มปอดอักเสบ
  • มีน้ำในปอด
  • เหนื่อยง่าย
  • เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
  • หัวใจเต้นผิดปกติ

5.อาการทางระบบทางเดินอาหาร

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ปวดท้อง
  • เบื่ออาหาร

6.อาการทางไต

  • ความดันโลหิตสูง
  • ขาบวม จากการบวมน้ำ

7.อาการทางระบบโลหิต

  • โลหิตจาง
  • ภาวะซีด
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • เม็ดเลือดขาวต่ำ
  • เกล็ดเลือดต่ำ
  • หลอดเลือดอักเสบ
  • อาจจะพบเป็นจุดแดงๆ เล็กๆ ทั่วตัวคล้ายไข้เลือดออก

8.อาการทางระบบประสาท

  • มีอาการชักโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • แขนขาอ่อนแรง
  • ไม่มีสมาธิ
  • เครียด
  • นอนไม่หลับ
  • ซึมเศร้า
  • วิตกกังวล
  • มีปัญหาในการจำ
  • สับสน
  • เห็นภาพหลอน
  • โดยอาจเป็นผลข้างเคียงมาจากอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบอีกทีได้

การรักษาโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง

แพทย์จะพยายามควบคุมโรคให้สงบด้วยการให้ทานยา ทำการรักษาตามอาการที่พบ และติดตามอาการไปเรื่อยๆ จนกว่าอาการจะสงบ หากเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะยิ่งทำให้แพทย์ทำการรักษา และควบคุมอาการได้ดีขึ้น จนไม่มีอะไรต้องน่ากลัว หรือถึงขั้นเสี่ยงเสียชีวิต.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here


The maximum upload file size: 2 GB.
You can upload: image.